วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ก้าวไกลนำไทยสู่อาเซียน

โครงงานคอมพิวเตอร์




เรื่อง ก้าวไกลนำไทยสู่อาเซียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี


จัดทำโดย

1.นางสาวฐิติมา  ดาศรี  เลขที่16
   2.นางสาวธนพร  สอนสุข  เลขที่24
  3.นายดนัย  บรรลือทรัพย์  เลขที่1
  4.นายสุทธิพงษ์  ภาสดา  เลขที่10



ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1




รายวิชา ง23102 โครงงานคอมพิวเตอร์

ปีการศึกษา 2557

โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม  จังหวัดสุรินทร์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33





 ก

เกี่ยวกับโครงงาน



โครงงานคอมพิวเตอร์

  เรื่อง  สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน
   กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพและเทคโนโลยี





  ผู้จัดทำ   1.นางสาวฐิติมา   ดาศรี 
                  2.นางสาวธนพร   สอนสุข
                  3.นายดนัย          บรรลือทรัพย์
                  4.นายสุทธิพงศ์    ภาสดา




  ครูที่ปรึกษารายวิชา  ครูบรรพต   นนธิจันทร์
                                
  สถานศึกษา    โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม
                       
                       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33

  ปีการศึกษา 2557











กิตติกรรมประกาศ



โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในกลุ่มที่ตั้งใจทำงานชิ้นนี้ขึ้นมา

และต้องขอบพระคุณอาจารย์บรรพต  นนธิจันทร์  อาจารย์ประจำวิชาคอมพิวเตอร์และเป็น

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานที่ได้ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับโครงงานมาโดยตลอดจนโครง

งานเล่มนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี



ท้ายสุดนี้ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  โครงงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของผู้ที่มีความ

สนใจเพื่อนำแนวคิดที่ได้ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไป


คณะผู้จัดทำ











หัวข้อโครงงาน  :  สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน

ประเภทของโครงงาน  :  โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

ผู้เสนอโครงงาน  :   1.นางสาวฐิติมา   ดาศรี
                    
                             2.นางสาวธนพร   สอนสุข

                             3.นายดนัย          บรรลือทรัพย์

                             4.นายสุทธิพงษ์    ภาสดา


ครูที่ปรึกษาโครงงาน  :  ครูบรรพต   นนธิจันทร์

ปีการศึกษา 2557



บทคัดย่อ




การจัดทำโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเว็บไซด์เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน  ศึกษาโปรมแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้างเว็บไซด์จากเว็บไซด์ทางอินเทอร์เน็ต  ศึกษาจากสมุดจดบันทึกของวิชาคอมพิวเตอร์ชั้น ม.3  และขอคำแนะนำจากผู้ที่มีความรู้หรือผู้ที่มีความชำนาญในการสร้างเว็บไซด์  มาสร้างเว็บไซด์เพื่อการศึกษาการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์










สารบัญ


เรื่อง                                                                                                              หน้า

เกี่ยวกับโครงงาน                                                                                                 ก

กิตติกรรมประกาศ                                                                                                ข

บทคัดย่อ                                                                                                              ค

บทที่ 1 บทนำ

     -ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
     
     -วัตถุประสงค์

     -ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า

     -ประโยชน์ที่คิดว่าจะได้รับ

บทที่ 2 เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีการจัดทำโครงงาน

    -วัสดุและอุปกรณ์

    -วิธีการจัดทำโครงงาน

บทที่ 4 ผลการศึกษา

บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ

     -สรุปผลการศึกษา

     -ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน

     -ข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม






  บทที่ 1 
บทนำ


ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
    
         ในยุคโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบันนี้สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วรวมถึงเศรษฐกิจโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   เช่น  การขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งทำให้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆตามมา  จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันประเทศต่างๆได้ให้ความสนใจที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ  มิไดจำกัดขอบเขตอยู่แต่เฉพาะภายในระบบเศรษฐกิจของประเทศตนเท่านั้นหากแต่พยายามศึกษาระบบเศรษฐกิจของประเทศอื่นที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตน  นอกจากนี้ในโลกยุคปัจจุบันที่มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะทางด้านการค้ามีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากประกอบกับการคมนาคมติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วทำให้ประเทศต่างๆมีโอกาสติดต่อทางการค้าระหว่างประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแตกต่างกันการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศใดประเทศหนึ่งอาจมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประเทศอื่นๆ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันยิ่งทำให้โลกแคบลง ผลกระทบของการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการค้ายิ่งรุนแรงมากขึ้น   ประเทศต่างๆให้ความสำคัญในการรวมตัวกันในภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  อาเซียนจึงต้องปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์เพื่อให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่่างๆที่เกิดขึ้นได้

         เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษระทั่วไปคือเป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียระหว่างประเทศใหญ่ 2 ประเทศ คือ จีน กับ อินเดีย ในอดีตทำให้เรียกดินแดนนี้ว่า เอเชียในหรือเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเชียงใต้ มีพื้นที่ประมาณ 4.6 ล้านตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ คำว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นคำใช้ครั้งแรกในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนขึ้นมาที่ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  ภายในปี 2558


       ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South EastAsian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั่ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดําเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้งแต่หากท่านหมายถึง “AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (thai-aec.com) สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึนเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็ นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่อินโดนิเซีย ฟิลิปปิ นส์ สิงคโปร์และไทย หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลําดับได้แก่  บรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชาประเทศไทยอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ของสมาชิกผู้ก่อตั้งและเป็นจุดกําเนิดของอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปฏิญญากรุงเทพฯ(Bangkok Declaration) ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีของ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดจีน มาเลเซีย ฟิ ลิปปิ นส์ สิงคโปร์และไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ต่อมาประเทศบรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชาได้เข้ามาเป็ นสมาชิกอาเซียนตามลําดับ รวมสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา รวมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมีโครงการความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่ทันการณ์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกันอาเซียนก็มีความสําคัญต่อประเทศไทย โดยนอกจากจะสร้างพันธมิตรและความเป็ นปึ กแผ่น ตลอดจนเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยเพิ่มอํานาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ และร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ และการพัฒนาขั้นพื้นฐานต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรมนอกจากนั้นความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในอาเซียน ได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งนําผลดีมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทยและของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยส่วนรวมซึ่งมีประเทศทั้งหมด 11 ประเทศ แต่ละประเทศมีวัฒนธรรม เศรษฐกิจการเมือง ที่แตกต่างกัน ในปัจจุบันแต่ละประเทศได้ให้ความสนใจและความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจและ
ด้านอื่นๆจึงเกิดความร่วมมือในระหว่างประเทศประเทศไทยเป็ นหนึ่งในประเทศสมาชิประชาคมอาเซียนเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนที้ส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองวัฒนธรรม และ ความมันคง (http://www.baanjomyut.com/library_2/asean_community/07.html)


        เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทมากในปัจจุบันทําให้เราได้รับข่าวสารต่างๆได้ง่ายขึ้นและมีช่องทางในการรับข่าวสารต่างๆมากมาย เช่นการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต กลุ่มข้าพเจ้าจึงเล็งเห็นถึงความสําคัญของการใช้อินเตอร์เน็ตเป็ นสื่อกลางในการสืบหาข้อมูล พวกเราจึงจัดทําเว็บไซต์ขึ่นมาซึ่งมีบทบาทมากในโลกออนไลน์ ปัจจุบันเว็บไซต์เป็นที่นิยมมากเพราะคนส่วนมากจะสืบหาข้อมูลจากเว็บไซต์โดยใช้โปรแกรม HTML ในการนําเสนอข้อมูล ซึ่งโปรแกรม HTML สามารถทําได้ง่ายและมีคําสั่งไม่ยุ่งยาก และเป็นโปรแกรมที่มีคนนิยมใช้มากในการจัดทําเว็บไซต์ โดยเว็ปไซต์ที่กลุ่มข้าพเจ้าได้จัดทําขึ้นมาจะเป็นการรวบรวมเนื่อหาที่เกี่ยวกับอาเซียนเช่น ความรู้ทั่วไปของแต่ล่ะประเทศ ไม่ว่าจะเป็ นประวัติของแต่ละประเทศเราก็จะมีการบรรยายให้ฟัง เพลงประจําชาติก็จะมีเพลงให้ฟัง ดอกไม้ประจําชาติและอาหารประจําชาติก็จะ
มีรูปภาพให้ดู เป็ นต้น โดยกลุ่มของข้าพเจ้าเห็นว่าในปัจจุบันข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับอาเซียนก็มีมากมาย ก็ต้องใช้ระยะเวลาในการค้นหาเว็ปไซต์หลายเว็ปไซต์ ซึ่งกลุ่มของพวกเราได้เห็นว่าเป็นการเสียเวลา พวกเราจึงไดจัดทําเว็บไซต์่รวบรวมเนื้อหาไว้ในเว็ปไซต์ซึ่งง่ายต่อการค้นหาและประหยัดเวลาปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจ ซึ่งเศรษฐกิจโลกที่กําลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งทําให้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ ตามมาจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้ให้ความสนใจที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมากขึ้นจึงเกิดการรวมกลุ่มกันของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและเป็นแนวทางในการปรับตัวรับมือกับการเปิดประเทศสู่การเป็ นประชาคมอาเซียน คณะผู้จัดทําจึงเล็งเห็นถึงความสําคัญจึงสร้างโครงงาน “ก้าวไกล นําไทยสู่อาเซียน”ขึ้นมาโดยการสร้างเว็บไซต์เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เข้าใจและเห็นความสําคัญของประชาคมอาเซียน


วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2. เพื่อต้องการให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนมากขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1.ศึกษารายละเอียดวิธีทําเว็บไซต์ HTML ที่จะนํามาใช้ทําโครงงาน
2.ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนจากหนังสือและทางอินเทอร์เน็ต
3.สร้างเว็บไซต์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน โดยใช้โปรแกรม HTML ในการสร้างเว็บไซต์


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้สนใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2. ได้นําเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณค่าและทําให้เกิดประโยชน์
3. ผู้ที่สนใจสามารถนําความรู้ที่ได้รับนําไปปรับใช้ในชีวิตประจําวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด



บทที่ 2
เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทําโครงงานการคอมพิวเตอร์ กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาเกี่ยวกับการทําเว็บไซด์HTML
และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน คณะผู้จัดทําจึงขอนําเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งลําดับเอกสารดังนี้

1.ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตหรือเว็บไซต์
2.ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมทําเว็บไซต์
3.ความรู้เกี่ยวกับภาษา HTML
    3.1.ประวัติความเป็ นมาของโปรแกรม HTML
    3.2.ความหมายของโปรแกรม HTML
    3.3.คําสั่งของโปรแกรม HTML
    3.4.ข้อดีของโปรแกรม HTML

4.ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
    4.1.จุดกําเนิดอาเซียน
       4.1.1การลงนามปฏิญญากรุงเทพหรือการลงนามปฏิญญาอาเซียน
    4.2.ประเทศสมาชิก
    4.3.วิสัยทัศน์อาเซียน
    4.4. เกร็ดความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
       4.4.1คําขวัญและสัญลักษณ์อาเซียน
       4.4.2สํานักเลขาธิการอาเซียน
       4.4.3เลขาธิการอาเซียน
       4.4.4ข้อมูลรายประเทศ
       4.4.5เพลงประจําอาเซียน
       4.4.6ธงประจําชาติ
       4.4.7สกุลเงิน
       4.4.8ชุดประจําชาติ
       4.4.9ดอกไม้ประจําชาติ
5.ตัวอย่างโครงงานที่เกี่ยวข้อง



เอกสารที่เกี่ยวข้อง 

 1. ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตหรือเว็บไซต์

       ความหมาย

       อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล(Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง เช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

      ที่มา

      อินเทอร์เน็ตเกิดขึนในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced
Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็ นเครือข่ายสํานักงานโครงการวิจัยชั้นสูงขอ
กระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

      จํานวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทัวโลก 

      ปัจจุบัน จํานวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 2.095 พันล้านคน หรือ 30.2 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม 2554) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็ น 44.0 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจํานวน 384ล้านคน

     หากเปรียบเทียบจํานวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจํานวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อ ประชากรสูงที่สุดคือ 78.3 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.1 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 58.3 %
ตามลําดับ

      จํานวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

      จํานวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจํานวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200คน) ปี 2536 (8,000คน) ปี 2537 (23,000คน) ... ข้อมูลล่าสุดของสํานักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551จากจํานวนประชากรอายุ 6 ปี ขึ้นไปประมาณ59.97ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้

คอมพิวเตอร์ 16.99ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

         อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย    แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2535ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทําการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและสํานักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

      ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสําคัญต่อชีวิตประจําวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม
วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้

    -ด้านการศึกษา

       - สามารถใช้เป็ นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
       - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทําหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
       - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กําลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็ น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
 
    -ด้านธุรกิจและการพาณิชย์

       - ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
       - สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
       - ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คําแนะนํา สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัว
โปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น


2. ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

จุดกําเนิดอาเซียน
การลงนามปฏิญญากรุงเทพหรือการลงนามปฏิญญาอาเซียน
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ (ที่ตั้งของกระทรวงการต่างประเทศไทย ในขณะนั้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ 5 ประเทศ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออก-เฉียงใต้ได้แก่
อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพฯ" [Bangkok
Declaration] เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือในระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ภายใต้ชื่อ"สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ"อาเซียน" [ASEAN] ซึ่งเป็นตัวย่อของ
Association of South East Asian Nations ชื่อทางการในภาษาอังกฤษของอาเซียนทั้งนี้ ก่อนหน้าที่การลง
นามในปฏิญญากรุงเทพฯ รัฐมนตรีต่างประเทศของทั้ง 5 ประเทศได้หารือกันเกี่ยวกับความเป็ นไปได้ ของ
การจัดตั้งสมาคมอาเซียนและยกร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้
ระบุวัตถุประสงค์สําคัญ 7 ประการ ของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็ นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้าตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและการ
คมนาคม
7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก(http://www.thaigoodview.com/node/129059)
ประเทศสมาชิก
ในปี 2546 อาเซียนได้กําหนดทิศทางทีÉแน่ชัดว่า ความร่วมมือจะต้องเดินทางไปสู่การเป็ นประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี 2558 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็น
หนึ่งในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อีกสองเสาหลัก คือ ประชาคมความ
มั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN
Socio-Cultural Community) และได้มีการจัดทํากฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เพื่อการดําเนินงานไปสู่
ประชาคมอาเซียน ซึ่งมีประเทศที่มีการเข้าร่วมการเป็ นสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศได้แก่
1.บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
2.กัมพูชา (Cambodia)
3.อินโดนีเซีย (Indonesia)
4.ลาว (Laos)
5.มาเลเซีย (Malaysia)
6.พม่า (Myanmar)
7.ฟิลิปปินส์ (Philippines)
8.สิงคโปร์ (Singapore)
9.ประเทศไทย (Thailand)
10.เวียดนาม (Vietnam)
วิสัยทัศน์อาเซียน
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็ นทางการ ครั้งที่ 2เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ กรุง
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ผู้นําอาเซียนได้ประกาศวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision2020) สู่การ
เป็ น A Concert of Southeast Asian Nations หรือ ความสมัครสมานร่วมมือกันของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยมีความมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) ไปสู่ภูมิภาคที่มั่นคง มั่งคั่ง และมีขีดความสามารถในการ
แข่งขันในระดับสูงซึ่งเป็นการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนที่ของแหล่งเงินทุน
มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ลดความยากจน และความแตกต่างในด้านสังคมและเศรษฐกิจ ภายในปี พ.ศ.
2563 (ค.ศ. 2020) ประชาคมอาเซียนเร็วขึ้นจากเดิมที่กําหนดไว้ในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ. 2020) ขยับมาเป็ น
ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ. 2015) เมื่อเดือนธันวาคม 2540ผู้นําอาเซียนได้รับรองเอกสาร วิสัยทัศน์อาเซียน
2020เพื่อกําหนดเป้ าหมายว่า ภายในปี ค.ศ. 2020 (2563) อาเซียนจะเป็ น
1) วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – A Concert of Southeast Asian Nations
2) หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต – A Partnership in Dynamic Development
3) มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก – An Outward-Looking ASEAN
4) ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร – A Community of Caring Societies (http://pawi2845.wordpress.com)


คําขวัญและสัญลักษณ์อาเซียน
คําขวัญของอาเซียน คือ หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งเอกลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One
Community)


สัญลักษณ์อาเซียน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธงอาเซียนรูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีนํ้าเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้
หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นนํ้าหนึ่งในเดียวกันพื้นที่ วงกลม สีแดง สีขาว
และนํ้าเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคําว่า “asean” สีนํ้าเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทํางานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
  -สีนํ้าเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
  -สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
  -สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  -สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง (http://www.nwvoc.ac.th/asean/asean3.html)


สํานักเลขาธิการอาเซียน
สํานักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 24กุมภาพันธ์ 2519โดยรัฐบาล
อินโดนีเซีย ได้มอบอาคารทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตา เพื่อใช้เป็นสํานักงาน อาคารดังกล่าวตั้งอยู่เลขที่70A Jl. Sisingamangaraja Jakarta Indonesia เป็ นสํานักงานใหญ่ถาวรของอาเซียนนับตั้งแต่ก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบันสํานักงานเลขาธิการอาเซียน มีเลขาธิการอาเซียน (Secretary General of ASEAN) เป็ นหัวหน้าสํานักงาน ที่ผ่านมาผู้แทนจากประเทศไทยดํารงตําแหน่งเลขาธิการอาเซียนมาแล้ว 2 ท่าน คือ นายแผนวรรณเมธี (ระหว่างปี 2527-2529) และ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ (2551-2555) หน้าที่ของสํานักงานเลขาธิการอาเซียนคือ ประสานงานระหว่างหน่วยงานของอาเซียน ในการดําเนินโครงการและกิจกรรมของอาเซียนให้เกิด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่ว่า ภายในปี 2558 “การสร้างประชาคมอาเซียนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน และมีประชาชนเป็ นศูนย์กลาง” แต่ละประเทศสมาชิกมีสํานักงานเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (National ASEAN Secretariat) เป็ นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงต่างประเทศของประเทศนั้น ๆ มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนและติดตามผลการดําเนินงานของอาเซียนภาย ในประเทศ ของตน สําหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กรมอาเซียนกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนั้นยังมีคณะกรรมการผู้แทนถาวร ประจําอาเซียน (Committee ofPermanent Representatives: CPR) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนระดับเอกอัครราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากประเทศสมาชิก มีภารกิจในการสนับสนุนการทํางานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียน และองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียน เฉพาะสาขา รวมทั้งประสานงานกับสํานักเลขาธิการอาเซียนและสํานักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ ตลอดจนดูแลความร่วมมือของอาเซียนกับหุ้นส่วนภายนอก ประเทศไทยได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจําอาเซียนและมีคณะผู้แทนถาวรไทยประจําอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตาในโลกที่เต็มไปด้วยความท้าทาย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศสมาชิกเห็นพ้องกันถึงความสําคัญของการมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดภายในอาเซียน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและรองรับความท้าทายตลอดจนเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและอํานาจต่อรองให้กับประเทศสมาชิก ผู้นําอาเซียนจึงได้ลงนามร่วมกันในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2(Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เพื่อประกาศจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEANCommunity ) ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) เพื่อสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมืออย่างรอบด้าน โดยในด้านการเมืองให้จัดตั้ง “ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ” หรือ ASEAN Political-SecurityCommunity (APSC)ด้านเศรษฐกิจให้จัดตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ ASEAN Economic Community (AEC) และด้านสังคมและวัฒนธรรมให้จัดตั้ง “ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ” หรือASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) ซึ่งต่อมา ผู้นําอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมตัวเป็ นประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นกว่าเดิมอีก 5 ปี คือ ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) โดยได้เล็งเห็นว่า สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาเซียนจําเป็ นต้อปรับตัวเพื่อให้สามารถคงบทบาทนาในการดําเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง(http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/asean/aseansecret.pdf)

เลขาธิการอาเซียน
1.มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกอินโดนีเซีย H.R. Darsono ดํารงตําแหน่ง 7 มิถุนายน 2519 - 18 กุมภาพันธ์2521
2.มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกอินโดนีเซีย Umarjadi Notowijono ดํารงตําแหน่ง 19 กุมภาพันธ์ 2521 - 30มิถุนายน 2521
3. มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกประเทศมาเลเซีย Datuk Ali Bin Abdullah ดํารงตําแหน่ง10 กรกฎาคม
2521 - 30 มิถุนายน 2523
4.มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกประเทศฟิลิปปินส์ Narciso G. Reyes ดํารงตําแหน่ง 1 กรกฎาคม 2523 - 1กรกฎาคม 2525
5. มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกประเทศสิงคโปร์ Chan Kai Yau ดํารงตําแหน่ง 18 กรกฎาคม 2525 - 15
กรกฎาคม 2527
6. มาจากประเทศไทย Phan Wannamethee (นายแผน วรรณเมธี) ดํารงตําแหน่ง 16 กรกฎาคม 2527 - 15
กรกฎาคม 2529
7. มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกบรูไนดารุสซาลาม Roderick Yong ดํารงตําแหน่ง 16 กรกฎาคม 2529 - 16กรกฎาคม 2532
8.มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกอินโดนีเซีย Rusli Noor ดํารงตําแหน่ง 17 กรกฎาคม 2532 - 1 มกราคม
2536
9.มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกมาเลเซีย Dato Ajit Singh ดํารงตําแหน่ง1 มกราคม 2536 - 31 ธันวาคม
2540
10. มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกฟิลิปปินส์ Rodolfo C. Severino Jr. ดํารงตําแหน่ง 1 มกราคม 2541 - 31ธันวาคม 2545
11.มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกสิงคโปร์ Ong Keng Yong ดํารงตําแหน่ง1 มกราคม 2546 - 31 ธันวาคม2550
12. มาจากประเทศไทย Dr. Surin Pitsuwan (ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ) ดํารงตําแหน่ง 1 มกราคม 2551 - 31 ธันวาคม 2555 (หนังสือบันทึกการเดินทางอาเซียน หน้า 52)




ข้อมูลรายประเทศ
ข้อมูลรายประเทศสมาชิกอาเซียน มีดังนี้
1.ประเทศบรูไนดารุสซาลามประเทศบรูไน ดารุสซาลามมีชื่อเป็นทางการว่า : เนการาบรูไน ดารุสซาลาม
เมืองหลวงคือ : บันดาร์เสรีเบกาวัน
2. ประเทศกัมพูชาประเทศกัมพูชามีชื่อเป็นทางการว่า : ราชอาณาจักรกัมพูชา เมืองหลวงคือ : พนมเปญเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ
3. ประเทศอินโดนีเซียประเทศอินโดนีเซียมีชื่อเป็นทางการว่า : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
เมืองหลวงคือ : จาการ์ตาเป็นนครหลวง และเมืองท่าเทียบเรือทันสมัย เป็นศูนย์กลางของธุรกิจธนาคารของประเทศ สมัยที่เคยเป็ นอาณานิคมของฮอลันดานั้น จาการ์ตา คือ เมือง “ปัตตาเวีย”
4. ประเทศลาวมีชื่อเป็นทางการว่า : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมืองหลวงคือ : เวียงจันทร์
5. ประเทศมาเลเซียมีชื่อเป็นทางการว่า : สหพันธรัฐมาเลเซีย เมืองหลวงคือ : กัวลาลัมเปอร์
6. ประเทศพม่ามีชือเป็นทางการว่า : สหภาพพม่า เมืองหลวงคือ : ย่างกุ้ง
7. ประเทศฟิลิปปินส์มีชื่อเป็นทางการว่า : สาธารณรัฐฟิ ลิปปินส์ เมืองหลวงคือ : กรุงมะนิลา ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน
8.ประเทศสิงคโปร์มีชื่อเป็นทางการว่า : สาธารณรัฐสิงคโปร์เมืองหลวงคือ : สิงคโปร์
9. ประเทศไทยมีชื่อเป็ นทางการว่า : ราชอาณาจักรไทยเมืองหลวงคือ : กรุงเทพมหานคร
10. ประเทศเวียดนามมีชื่อเป็นทางการว่า : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เมืองหลวงคือ : กรุงฮานอย (หนังสือบันทึกการเดินทางอาเซียน หน้า 55-59 )

เพลงประจําอาเซียน
เพลงประจําอาเซียนใช้เปิดในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเสริมสร้างอัตลักษณ์ และเชื่อมโยง
อาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน โดยก่อนหน้าที่จะใช้เพลงประจําอาเซียนในปัจจุบัน มีการใช้เพลง ASEAN Song ofUnity หรือ ASEAN Oh ASEAN ของฟิ ลิปปิ นส์มาก่อน แต่ใช้เปิ ดในวงประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสารสนเทศเท่านั้น ต่อมาใช้เพลง ASEAN Our Way ของมาเลเซีย และเพลง Rise ของสิงคโปร์ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่มาเลเซียและสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม การมีเพลงประจําอาเซียนต้องดําเนินการตามกฏบัตรอาเซียน และเพื่อให้ทันการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ประเทศไทยจึงได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิก ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเพลงประจําอาเซียน และคณะกรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซียนและญีปุ่น จีน ออสเตรเลีย มีมติเอกฉันท์เลือกเพลง The ASEAN Way ของไทยเป็นเพลงประจําอาเซียน โดยเริ่มใช้ครั้งแรกในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 ที่อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


ธงประจําชาติ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธงอาเซียน1. Brunei Darussalam (บรูไน ดารุสซาลาม) ธงชาติบรูไน ลักษณะของธงชาติมีพื้นสีเหลือง โดยมีแถบสีขาว และสีดํา พาดตามแนวทแยงมุมจากด้านคันธงจรดปลายธง ซึ่งแถบสีขาวอยู่ด้านบน แถบสีดําอยู่ด้านล่างขณะที่กลางธงนั้น มีตราแผ่นดินของบรูไนประทับอยู่ ซึ่งสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้สีเหลือง หมายถึงกษัตริย์ สีขาว และสีดํา หมายถึง มุขมนตรีสาเหตุที่ธงชาติบรูไนใช้สีเหลืองสื่อถึงกษัตริย์นั่น เนื่องจากธงประจําพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพืนสีเหลือง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธงอาเซียน2. Kingdom of Cambodia (ราชอาณาจักรกัมพูชา) ธงชาติกัมพูชา ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3ริ้ว โดยริ้วตรงกลางจะเป็นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่บริเวณกึ่งกลางขณะที่ริ้วด้านนอกทั้ง 2ด้าน มีสีนํ้าเงิน และกว้างริ้วละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน โดยสีต่าง และสัญลักษณ์ต่าง ๆของธง มีความหมาย ดังนี้ สีนํ้าเงิน หมายถึง กษัตริย์ สีแดง หมายถึง ชาติ ส่วนปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึง สันติภาพ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธงประเทศสมาชิกอาเซียน3. Republic of Indonesia (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย) ธงชาติอินโดนีเซีย พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตาม
แนวนอน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้ สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และอิสรภาพ สีขาว
หมายถึง ความบริสุทธิ ยุติธรรม4. Lao People’s Democratic Republic (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - สปป ลาว) ธงชาติลาวลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวออกเป็ น 3 ส่วน โดยแถบตรงกลางจะเป็นสีนํ้าเงิน กว้าง 2 ส่วน มีพระจันทร์ทรงกลมสีขาวอยู่กึ่งกลาง ขณะที่แถบด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีแดง และกว้างริ้วละ 1 ส่วน เท่า ๆ กัน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้ สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว สีนํ้าเงินหมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ พระจันทร์สีขาว หมายถึงเอกภาพของสาเหตุที่มีดวงจันทร์ทรงกลมอยู่ตรงกลาง เนื่องจากเพื่อเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลํานํ้าโขง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธงประเทศสมาชิกอาเซียน5. Malaysia (มาเลเซีย) ธงชาติมาเลเซีย มีแถบสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากันที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีนํ้าเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังกล่าว มีเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้แถบริ้วสีแดง และสีขาว ทั้ง 14 ริ้ว หมายถึง สถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ ภายในประเทศมาเลเซียดาว 14 แฉก หมายถึง ความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด พระจันทร์เสี้ยว หมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจําชาติ สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก สื่อถึง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ สีนํ้าเงิน หมายถึง ความสามัคคีของชาวมาเลเซีย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธงประเทศสมาชิกอาเซียน6. Republic of the Union of Myanmar (สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า) ธงชาติพม่า ได้แบ่งตามความยาวออกเป็ น 3 ส่วน และมีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยแต่ละส่วน มีสีที่แตกต่างกัน ไล่จากบนลงล่าง คือ สีเหลืองสีเขียว และสีแดง ขณะที่กึ่งกลางธงมีรูปดาว 5 แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้ สีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า สีเหลือง หมายถึงความสามัคคี สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด ดาวสีขาว หมายถึง สหภาพอันมั่นคง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธงประเทศสมาชิกอาเซียน7. Republic of the Philippines (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์) ธงชาติฟิ ลิปปิ นส์ ด้านต้นธงเป็นรูสามเหลี่ยมสีขาว เป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่งภายในสามเหลี่ยมสีขาว ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาว 5 แฉก จํานวน 3 ดวง และตั้งอยู่ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งหมด ล้วนเป็นสีทอง ส่วนด้านที่เหลือของธง ได้แบ่งครึ่งตามความยาว โดยแถบบนมีสีนํ้าเงิน และแถบล่างมีสีแดง ทั้งนี้ หากแถบทั้งสองสีดังกล่าว ได้มีการสลับตําแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีนํ้าเงินอยู่ด้านล่าง แสดงว่า ขณะนั้นประเทศฟิลิปปินส์กําลังอยู่ในภาวะสงคราม ส่วนสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้สีนํ้าเงิน หมายถึง สันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม สีแดง หมายถึง ความรักชาติ และความมีคุณค่าดวงอาทิตย์มีรัศมี 8 แฉก หมายถึง 8 จังหวัดแรกของประเทศ ที่มีความพยายาม ในการเรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปน กระทั่งเกิดการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2439 ดาวสามดวง หมายถึง การแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็ น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธงประเทศสมาชิกอาเซียน8. Republic of Singapore (สาธารณรัฐสิงคโปร์) ธงชาติสิงคโปร์ ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธงแถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมด้านบนของคันธง เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีดาว 5แฉก จํานวน 5ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า โดยรูปพระจันทร์เสี้ยว และดาว 5แฉกต่างมีสีขาว ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้ สีแดง หมายถึง ภราดรภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ และความดีงามที่แพร่หลาย และคงอยู่ตลอดกาล รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็ นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง ความเป็นชาติใหม่ที่ถือกําเนิดขึ้น ดาว 5ดวง หมายถึงอุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธงประเทศสมาชิกอาเซียน9. Kingdom of Thailand (ราชอาณาจักรไทย) ธงชาติไทย ประกอบด้วย 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีขาว และสีนํ้าเงิน มีการแบ่งเป็นริ้วจํานวน 5แถบ ซึ่งแถบในสุดเป็นสีนํ้าเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบน ด้านล่าง เป็นสีขาว และสีแดงตามลําดับ ทั้งนี้ แถบสีนํ้าเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2เท่า ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมายดังนี้ สีแดง หมายถึง ชาติ สีขาว หมายถึง ศาสนา สีนํ้าเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม มีการเรียกชื่อธงนี้ว่า ธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี) เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ไว้เมื่อ พ.ศ. 2464โดยได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ว่า สีแดงหมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ แห่งพระพุทธศาสนา และธรรมะ สีนํ้าเงินหมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คําอธิบายที่ทรงประกาศใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสํานึกความเป็นชาตินิยมมาตลอด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธงประเทศสมาชิกอาเซียน10. Socialist Republic of Vietnam (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม) ธงชาติเวียดนาม พื้นธงเป็นสีแดง
ล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5แฉก สีเหลืองทอง เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม
เวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝี มือ พ่อค้า และทหาร ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้ สีแดง หมายถึงการต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดง หมายถึงการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ ดาวสีทอง หมายถึง การชี้นําของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
http://hilight.kapook.com/view/75319

สกุลเงิน
1. บรูไน ดารุสซาลาม
ใช้สกุลเงิน ดอลล่าร์บรูไน อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์บรูไน = 25.10 บาท
2. ราชอาณาจักรกัมพูชา
ใช้สกุลเงิน เรียล อัตราแลกเปลี่ยน 150 เรียล = 1 บาท
3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ใช้สกุลเงิน รูเปียห์ อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 รูเปียห์ = 3.95 บาท
4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลา
ใช้สกุลเงิน กีบ อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 กีบ = 4.05 บาท
5. มาเลเซีย
ใช้สกุลเงิน ริงกิต อัตราแลกเปลี่ยน 1 ริงกิตมาเลเซีย = 10.40 บาท
6. สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่
ใช้สกุลเงิน จ๊าด อัตราแลกเปลี่ยน 1 จ๊าด = 5 บาทไทย
7. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
ใช้สกุลเงิน เปโซ อัตราแลกเปลี่ยน 1.40 เปโซ = 0.78 บาท
8. สาธารณรัฐสิงคโปร์
ใช้สกุลเงิน ดอลล่าร์สิงค์โปร์ อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์สิงคโปร์ = 24.40 บาท
9. ราชอาณาจักรไทย ใช้สกุลเงิน บาท
10. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ใช้สกุลเงิน ด่ง อัตราแลกเปลี่ยน 900 ด่ง = 1.64 บาท
ไทย http://hilight.kapook.com/view/75321

ชุดประจําชาติ



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุดประจําชาติประเทศบรูไน


          1.การแต่งกายของบรูไนสําหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนของชุดผู้หญิงเรียกว่าบาจูกุรัง (Baja Kurung) คล้ายกับชุดประจําชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงหัวเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุดประจําชาติประเทศกัมพูชา







        2.การแต่งกายของกัมพูชาซัมปอต (Sampot) เป็นเครื่องแต่งกายประจําชาติของประเทศกัมพูชา สําหรับชุดผู้หญิง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย มีหลายหลายรูปแบบ สําหรับผู้ชายนั้นมักสวมใส่เสื้อที่ทําจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ ายทั้งแขนสั้นและแขนยาว พร้อมทั้งสวมกางเกงขายาว


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุดประจําชาติประเทศอินโดนีเซีย


       3.การแต่งกายของอินโดนีเซีย เคบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจําชาติของประเทศอินโดนีเซียสําหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาวผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติกสําหรับการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาว และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด






ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุดประจำชาติประเทศลาว


       4.การแต่งกายของลาว ผู้หญิงลาวจะนุ่งผ้าซิ่น และเสื้อแขนยาวทรงกระบอก สําหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากลหรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุกเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย









ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุดประจําชาติประเทศมาเลเซีย      5.การแต่งกายของมาเลเซียสําหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Beju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทําจากผ้าไหม ผ้าฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย สําหรับชุดของผู้หญิงเรียนกว่า บาจูกุรุง (Baja Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาวและกระโปรงยาว









ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุดประจําชาติประเทศฟิลิปปินส์


     6.การแต่งกายของฟิลิปปินส์ ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารองตากาล็อก ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปี กผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก







ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุดประจำชาติประเทศสิงคโปร์      7.การแต่งกายของสิงคโปร์ สิงคโปรไม่มีชุดประจําชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจําชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนขาว คอจีน เสื้อผ้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้







ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุดประจำชาติประเทศไทย     8.การแต่งกายของไทย สําหรับชุดผู้หญิงคือ ชุดไทยจักรี เป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัวซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหาก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควรความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวยใช้เครื่องประดับได้งดงาม สมโอกาสในเวลาคํ่าคืน สําหรับชุดผู้ชายคือ ใส่เสื้อพระราชทาน





ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุดประจําชาติประเทศเวียดนาม

    9.การแต่งกายของเวียดนาม  อ่าวหญ่าย เป็นชุดประจําชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขาวยาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวม ใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสําคัญของประเทศมีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าหญ่ายในพิธีแต่งานหรือพิธีศพ







ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุดประจําชาติ ประเทศเมียร์ม่า      
        10.การแต่งกายของพม่า ลองยี เป็นชุดแต่งกายประจําชาติของประเทศพม่า โดยมีการออกแบบในรูป
ทรงกระบอก มีความยาวจากเอวจรดปลายเท้า การสวมใส่ใช้วิธีการขมวดผ้าเข้าด้วยกันโดยไม่มัดหรือพับขึ้นมาถึงหัวเข่าเพื่อความสะดวกในการสวมใส่










 บทที่ 3
วิธีการจัดทำโครงงาน

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้พัฒนาโครงงาน
วัสดุและอุปการณ์ที่ใช้ในการจัดทำโครงงานได้แก่
         1.  คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง
         2.  โน้ตบุ๊ค 1 เครื่อง
         3.  หนังสือประเทศอาเซียน
         4.  หนังสือประชาคมอาเซียน

วิธีการจัดทำโครงงาน
          1.  ปรึกษากับสมาชิกในกลุ่มเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน
          2.  เลือกโปรแกรมที่จะใช้ทำตามที่เราสนใจ
          3.  ศึกษาวิธีการทำโปรแกรมที่เราจะใช้ทำ
          4.  แบ่งหน้าที่ในการทำตามความเหมาะสม
          5.  รวบรวมเนื้อหาแล้วสรุปเป็นหัวข้อที่จะทำ
          6.  ทำบทที่ 1และ 2 ส่งอาจารย์เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น
          7.  ออกแบบเค้าโครงสื่อ
          8.  ทำ map เพื่อความสะดวกในการทำจะได้มีความเป็นระเบียบ
          9.  ลงมือสื่อ
         10.  ทำรูปเล่มโครงงาน
         11. นำเสนอผลงาน


บทที่ 4
ผลการศึกษา


จากการศึกษาการสร้างสื่อ CAI เพื่อที่จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ในการจัดทำโครงงานครั้งนี้ ผู้จัดทำได้มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนจากเว็บไซด์ซึ่งมีเว็บไซด์หลายเว็บไซต์และแต่ละเว็บจะมีเนื้อหาที่แตกต่างกันไปไม่ครอบคลุมเนื้อหา กลุ่มข้าพเจ้าจึงได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือซึ่ง แต่ละเล่มจะมีเนื้อหาที่ละเอียดทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อที่จะอ่าน เมื่อกลุ่มของข้าพเจ้าได้จัดทำสื่อ CAI ที่เกี่ยวกับอาเซียนกลุ่มข้าพเจ้าจึงนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้นำมาสรุปแล้วทำไว้ในสื่อเดียวกันเพื่อ ความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าของผู้ที่มีความสนใจและเพื่อประหยัดเวลาในการหา สามารถหาได้โดยผ่านเว็บไซต์และรวบรวมไว้ในสื่อเพียงสื่อเดียว ทำให้มีเวลาสร้างประโยชน์ให้กับตนเองและสังคมเพิ่มมากขึ้น





บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ


สรุปผลการศึกษา
จากการจัดทำโครงงานพบว่าการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องก้าวไกลนำไทยสู่อาเซียน โดยใช้ โปรแกรม Adobe Captivate ในการสร้างสื่อ CAI เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนสามารถสรุปผลได้ดังนี้ กลุ่มของข้าพเจ้าได้จัดทำสื่อเกี่ยวกับอาเซียนกลุ่มข้าพเจ้าจึงนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้นำมา สรุปแล้วทำไว้ในสื่อเดียวกันเพื่อความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าของผู้ที่มีความสนใจและเพื่อ ประหยัดเวลาในการหา สามารถหาได้โดยผ่านเว็บไซต์และรวบรวมไว้ในสื่อเพียงสื่อเดียว ทำให้มีเวลาสร้างประโยชน์ให้กับตนเองและสังคมเพิ่ม มากขึ้นและยังได้ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

ข้อเสนอแนะ
1.ควรที่จะศึกษาวิธีการใช้โปรแกรมให้ละเอียดมากกว่านี้เพื่อที่จะไม่เสียเวลาในการทำ
2.ควรแบ่งเวลาให้เหมาะสมในการทำงานเพื่อผลงานจะได้ออกมาดีกว่านี้






บรรณานุกรม


https://sites.google.com/site/class0223/introduction
http://nanavagi.blogspot.com/2009/11/blog-post_11.html
(http://www.ongitonline.com/index. )
(http://www.thaigoodview.com/node/48022)
(http://ladyit.exteen.com/20060711/html-4)
(http://www.thaigoodview.com/node/129059)
(http://pawi2845.wordpress.com)
(http://www.nwvoc.ac.th/asean/asean3.html)
(http://www.nwvoc.ac.th/asean/asean3.html)
(http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/asean/aseansecret.pdf)
(หนังสือบันทึกการเดินทางอาเซียน หน้า 52-59)
http://www.asean-info.com/asean_community/asean_song.html
http://hilight.kapook.com/view/75319
http://hilight.kapook.com/view/75321












                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                    


                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น