วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558



โครงงาน
การปลูกผักคะน้าโดยใช้ปุ๋ยชนิดต่างๆ





 จัดทำโดย

    1.นาย  ทวีทรัพย์   สุทธิแย้ม   เลขที่ 2
2. นาย ภูมรินทร์   รูปโฉม   เลขที่ 7 
 3. นางสาว สุจิตรา   ดาศรี  เลขที่ 15
       4. นางสาว ฐิติมา  ดาศรี  เลขที่  16        
             5. นางสาว สโรชา   เครือวัลย์  เลขที่  22     
    6. นางสาว ธนพร   สอนสุข   เลขที่  24
      7. นาย ณัฐพงศ์  อินทร์หอม   เลขที่  31





เสนอ

คุณครู  รัชนีวรรณ    ดาศรี 






โครงงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาโครงงานเกษตรแบบพอเพียง รหัสวิชา ง20224
ภาคเรียนที่2     ปีการศึกษา  2557
โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ








ชื่อโครงงาน การปลูกผักคะน้าโดยใช้ปุ๋ยชนิดต่างๆ

ผู้จัดทำโครงงาน 1.นาย ทวีทรัพย์  สุทธิแย้ม
                              2. นายภูมรินทร์  รูปโฉม 
                              3. นางสาวสุจิตรา  ดาศรี 
                              4.นางสาว ฐิติมา  ดาศรี 
                              5.นางสาว สโรชา  เครือวัลย์
                              6.นางสาว ธนพร  สอนสุข
                              7.นาย ณัฐพงศ์  อินทร์หอม

ครูที่ปรึกษาโครงงาน ครู รัชนีวรรณ   ดาศรี

ปีการศึกษา  2557


บทคัดย่อ 

โครงงานเรื่องการปลูกผักคะน้าโดยใช้ปุ๋ยชนิดต่างๆ จัดทำขึ้นเพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นกล้าผักคะน้าระหว่าง การใช้ปุ๋ยมูลสุกรและปุ๋ยคอก โดยสังเกตการณ์เจริญเติบโตของต้นกล้าผักคะน้า ว่าระหว่างการใช้ปุ๋ยมูลสุกรและปุ๋ยคอก เมื่อต้นกล้าผักคะน้าได้รับสารทั้งสองเข้าไปแล้ว ต้นที่ใช้ปุ๋ยชนิดใดจะมีการเจริญเติบโตได้ ดีและสวยงามกว่ากัน โดยเราจะนำปุ๋ยมูลสุกรใส่ในแปลงที่หนึ่ง และปุ๋ยคอกใส่ในแปลงที่สอง  จากนั้นปลูกต้นกล้าผักคะน้า ในแปลงที่หนึ่งและแปลงที่สองหลังจากนั้น 3 อาทิตย์ สังเกตการเปลี่ยนแปลงและจดบันทึก อีก 3 อาทิตย์จะมาดูการเปลี่ยนแปลงและจดบันทึก จากนั้นนำการจด บันทึกทั้งหกสัปดาห์มาพิจารณาและและสรุปผลการทดลอง ปรากฎว่าต้นกล้าผักคะน้าในแปลงที่ใส่ปุ๋ยมูลสุกรเจริญเติบโตได้ดีกว่าและสวยงามกว่าแปลงที่ใส่ปุ๋ยคอก แสดงว่าการใช้ปุ๋ยมูลสุกรสามารถทำให้ต้นกล้าผักคะน้าสวยงามและเติบโตได้ดีกว่าการใช้ ปุ๋ยคอกและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดหาปุ๋ยมาใส่พืชของตนได้เยอะซึ่งจะสรุปได้ว่า อาทิตย์ที่ 3 ปุ๋ยเคมีจะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ 2.08 cm.และมีใบที่แห้งและเป็นรู ปุ๋ยมูลสุกรจะทำให้พืช เจริญเติบโตได้ 3.26 cm.และมีใบที่สวยงาม อาทิตย์ที่ 4 ปุ๋ยคอกจะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ 4.6 cm. ปุ๋ยมูลสุกรจะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ 8.4 cm.





กิตติกรรมประกาศ

ในการทำโครงงานเกษตรเรื่องการปลูกผักคะน้าโดยใช้ปุ๋ยชนิดต่างๆในครั้งนี้คณะผู้จัดทำได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณครู รัชนีวรรณ  ดาศรี ในการปรึกษาเรื่องโครงงานและแก้ไขข้อผิดพลาดของรูปเล่มโครงงาน  และให้ความรู้และคำแนะนำในการทำการทดลอง เอื้อเฟื้อสถานที่ในการทำการทดลองและสนับสนุนงบประมาณในการทดลองและจัดทำรูปเล่มโครงงานจน สำเร็จลุลวงไปได้ด้วยดี คณะผู้จัดทำโครงงานจึงขอขอบพระคุณ คุณครู รัชนีวรรณ  ดาศรี เป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ 



สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                    หน้า

บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ

บทที่ 1 บทน า

          1.1 ที่มาและความส าคัญ
          1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
          1.3 สมมติฐาน
          1.4 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
          1.5 ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
           1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ


บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีทดลอง
บทที่4 ผลการทดลอง
บทที่ 5 สรุปผล/อภิปรายผลการทดลองและข้อเสนอแนะ

อ้างอิง
ภาคผนวก


บทที่ 1
บทน า


ที่มาและความสำคัญ
เนื่องจากทางบ้านของนางสาวธนพร  สอนสุข มีการเลี้ยงสุกรไว้หลายตัว โดยทางบ้านของ    นางสาว ธนพร  สอนสุข ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมูลสุกรเลย ปล่อยไว้เฉย ๆ เวลาสุกรขี้จะมีมูลสุกรเกรื้อนกร้าดเต็มพื้นไปหมด ทางกลุ่มของดิฉันจึงเล็งเห็นความสำคัญของมูลกระต่าย กลุ่มของดิฉันจึงนำมาทำการทดลองว่าการปลูกพืชแบบใช้ปุ๋ยมูลสุกรกับปุ๋ยคอก อย่างใดที่จะช่วยประหยัดและช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้เร็วและสวยงามกว่า

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นกล้าผักคะน้า ระหว่างการใช้ปุ๋ยมูลสุกรและปุ๋ยคอก

สมมติฐาน
1. มูลของสุกรสามารถน าไปใช้ใส่พืชผักต่างๆได้
2. มูลของสุกรสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
3. พืชที่ใช้ปุ๋ยจากมูลสุกรมีการเจริญเติบโตดีและสวยงามกว่าพืชที่ใช้ปุ๋ยคอก
4. มูลจองสุกรสามารถลดต้นทุนในการปลูกพืชผักสวนครัวได้

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น           มูลของสุกรและปุ๋ยคอก
ตัวแปรตาม         ความสูงของต้นคะน้า
ตัวแปรควบคุม    ดิน  ปริมาณน้ำ  ปริมาณปุ๋ยที่ใช้

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
ศึกษาเกี่ยวกับมูลของมูลสุกรและปุ๋ยคอกที่จะใช้ ศึกษาจากการผักคะน้าที่โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบข้อมูลเพิ่มขึ้นว่ามูลสุกรสามารถใช้ปลูกอะไรได้บ้าง มีสารใดประกอบอยู่บ้าง
2. ทำให้ได้รู้จักการคิดวิเคราะห์ระหว่างปุ๋ยมูลสุกรกับปุ๋ยคอก อย่างใดสามารถนำมาใช้ได้ดีกว่า




บทที่ 2
 เอกสารที่เกี่ยวข้อง


สุกร


การเลี้ยงหมูของเกษตรกรไทย แต่เดิมเป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้านเป็นส่วนใหญ่ คือ ผู้เลี้ยงหมูประเภทนี้เลี้ยงไว้โดยให้กินเศษอาหารที่มีอยู่ หรือที่เก็บรวบรวมได้ตามบ้าน ดังนั้น ผู้เลี้ยงประเภทนี้จึงเลี้ยงหมูเป็นจำนวนมากไม่ได้ จะเลี้ยงไว้เพียงบ้านละ ๒-๓ ตัวเท่านั้น ผู้เลี้ยงเป็นอาชีพจริงๆ มีน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลย ผู้เลี้ยงไว้เป็นจำนวนมากๆ ได้ มักทำอาชีพอื่นๆ อยู่ด้วย เช่น เป็นเจ้าของโรงสีเป็นต้น ผู้เลี้ยงหมูแต่ก่อนมักเป็นชาวจีน รองลงมาก็เป็นผู้เลี้ยงชาวไทยเชื้อสายจีน วิธีการเลี้ยงหมูแต่เดิมมายังล้าสมัยอยู่มาก จะเห็นได้ว่า ผู้เลี้ยงบางคนยังไม่มีคอกเลี้ยงหมูเลย หมูจึงถูกปล่อยให้กินอยู่ตามลานบ้าน ใต้ถุนเรือน หรือตามทุ่ง หรือผูกติดไว้กับโคนเสาใต้ถุนบ้าน เป็นต้น ส่วนที่ดีขึ้นมาหน่อยก็มีคอกเลี้ยง แต่พื้นคอกก็ยังเป็นพื้นดินอยู่นั่นเอง พื้นคอกที่ทำด้วยไม้และคอนกรีตมีน้อยมาก อาหารที่ใช้เลี้ยงหมูแต่เดิม นอกจากเศษอาหารตามบ้านแล้ว อาหารหลักที่ใช้ก็คือ รำข้าว และหยวกกล้วย นำมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ แล้วตำให้ละเอียดอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้อาจมีผักหญ้าที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ เช่น จอก ผักตบชวา ผักบุ้ง สาหร่าย และผักขม เป็นต้น นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกับรำข้าว และปลายข้าวที่ต้มสุกแล้ว เติมน้ำลงในอาหารที่ผสมแล้วนี้ ในปริมาณที่พอเหมาะ แล้วจึงให้หมูกิน หมูที่เลี้ยงในสมัยก่อนเป็นหมูพันธุ์พื้นเมือง หมูเหล่านี้มีขนาดตัวเล็ก และเจริญเติบโตช้า เนื่องจากไม่มีใครสนใจปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น หมูพันธุ์พื้นเมืองจึงถูกปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเอง โดยไม่มีการคัดเลือก นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงมักจะคัดหมูตัวที่โตเร็วออกขายเอาเงินไว้ก่อน จึงเหลือแต่หมูที่ลักษณะไม่ดีนำมาใช้ทำพันธุ์ต่อไปปัจจุบันการเลี้ยงหมูนับว่า ก้าวหน้ากว่าแต่ก่อนมาก การเลี้ยงดู ตลอดจนการปรับปรุงพันธุ์ มีการศึกษา และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา แต่เดิมหมูให้ลูกได้ปีละหนึ่งครั้ง ลูกที่ให้แต่ละครั้งก็ไม่แน่นอน บางครั้งก็น้อย บางครั้งก็มาก ครั้งใดที่ให้ลูกมาก อัตราการตายของลูกก็จะสูง ลูกที่คลอดออกมาแล้ว ต้องใช้เวลาเลี้ยงนานนับปี จึงส่งขายได้ ส่วนปัจจุบัน หมูสามารถให้ลูกได้ถึง ๕ ครอกใน ระยะเวลา ๒ ปี แต่ละครอกมีลูกหมูหลายตัว อัตราการเลี้ยงให้อยู่รอดก็สูง ลูกหมูหลังคลอดใช้ระยะเวลาเลี้ยงไป จนถึงน้ำหนักส่งตลาดเพียง ๕ เดือนกว่าเท่านั้น นอกจากนี้ ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสารอาหารของร่างกายหมูในปัจจุบัน สูงกว่าแต่ก่อนมาก โดยสามารถเปลี่ยนอาหารที่กิน เข้าไปประมาณ ๒.๕ - ๓ กิโลกรัม เป็นเนื้อได้ ๑ กิโลกรัม ซึ่งแต่เดิมต้องใช้อาหาร ๕-๖ กิโลกรัม จึงจะได้เนื้อ ๑ กิโลกรัมแหล่งที่มีการเลี้ยงหมูกันมากในประเทศไทย ได้แก่ แถบบริเวณภาคกลางของประเทศ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี ชลบุรี สุพรรณบุรี และฉะเชิงเทรา เป็นต้น หมูที่เลี้ยงทางแถบภาคกลางนี้ จะไม่มีพันธุ์พื้นเมืองเลย เป็นหมูพันธุ์ต่างประเทศทั้งหมด หมูพันธุ์ต่างประเทศที่นิยมเลี้ยงกัน ได้แก่ พันธุ์แลนด์เรซ พันธุ์ลาร์จไวต์ พันธุ์ดูร็อก และหมูพันธุ์ลูกผสมต่างๆ เป็นต้น

มูลสุกร

เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งได้มาจากการเลี้ยงสัตว์และได้มีการนำมาใช้ทางการเกษตรอย่างแพร่หลายเป็นเวลานานหลายปีมาแล้ว ไม่เพียงแต่จะให้อินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศดีขึ้น ช่วยเพิ่มความคงทนให้แก่เม็ดดินเป็นการลดการชะล้างพังทลายของดินและช่วยรักษาหน้าดินไว้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งธาตุอาหารของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ซึ่งมีผลทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ของจุลินทรีย์ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและยังช่วยเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ในดินอีกด้วย ในอดีตการใช้ปุ๋ยคอกเป็นไปอย่างง่าย ๆ ตามธรรมชาติโดยเกษตรกรจะเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย สุกร ม้า แพะ แกะ ฯลฯ กระจัดกระจายไปตามท้องทุ่ง เมื่อสัตว์ขับถ่ายมูลสัตว์ออกมาก็จะตกหล่นบนพื้นดินโดยตรงเป็นปุ๋ยให้กับพืช มูลสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นของแข็งประกอบไปด้วยเศษของพืชและสัตว์ซึ่งเป็นอาหารที่สัตว์กินเข้าไปแล้วไม่สามารถย่อยหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้หมด จึงเหลือเป็นกากที่สัตว์ขับถ่ายออกมา โดยเศษอาหารเหล่านี้ได้ผ่านกระบวนการย่อยสลายไปบางส่วนแล้วในทางเดินอาหาร ดังนั้นส่วนที่เป็นมูลสัตว์จึงอุดมไปด้วยธาตุอาหารชนิดต่างๆ รวมทั้งสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำได้หลายชนิด ซึ่งเมื่อรวมกันเข้าก็จะมีองค์ประกอบที่สามารถใช้เป็นธาตุอาหารที่สมบูรณ์ของพืชได้ ส่วนมูลสัตว์แต่ละชนิดจะมีธาตุอาหารชนิดใดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่สัตว์ชนิดนั้นกินเข้าไปเป็นปัจจัยสำคัญรวมทั้งปัจจัยอื่นๆได้แก่ ระบบการย่อยอาหารของสัตว์ วิธีการให้อาหาร รวมทั้งการจัดการรวบรวมมูล การเก็บรักษา ฯลฯ ในปุ๋ยคอกนอกจากจะมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชแล้วยังให้ฮอร์โมนและสารควบคุมการเจริญเติบโต ชนิดต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับพืชอีกมากมายด้วยแนวทางการใช้ปุ๋ยคอกเพื่อปรับปรุงบำรุงดินออมทรัพย์ นพอมรบดี (2540) ได้กล่าวถึงแนวทางการใช้ปุ๋ยคอกไว้ดังนี้คือ มูลวัวและมูลควาย โดยทั่วไปแล้วมีธาตุอาหารต่ำกว่ามูลสัตว์ชนิดอื่นเพราะเป็นสัตว์กินหญ้า ไม่ควรใส่แปลงปลูกผักโดยตรง เพราะจะมีปัญหาเมล็ดวัชพืชปะปนมา ควรนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักเสียก่อน หรือนำไปผลิตก๊าซชีวภาพแล้วนำกากที่เหลือไปใช้จะได้ประโยชน์มากกว่า มูลแห้งเหมาะสำหรับใส่แบบหว่าน ในสวนไม้ผล หรือรองก้นหลุมปลูกพืช เมื่อเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารในมูลสัตว์ชนิดต่างๆ จะเห็นว่ามูลสุกรและกากตะกอนมูลสุกรจากบ่อหมักก๊าซชีวภาพรวมทั้งมูลของไก่ไข่มีปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง แมงกานีส และสังกะสีมากกว่ามูลวัวขณะที่มูลวัวมีปริมาณธาตุโปแตสเซียมและโซเดียมมากกว่ามูลสุกร

ปุ๋ยคอก

เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งได้มาจากการเลี้ยงสัตว์ และได้มีการนำไปใช้ในทางการเกษตรอย่างแพร่หลายเป็นเวลานานหลายปีแล้ว ปุ๋ยคอกไม่เพียงแต่จะให้อินทรีย์วัตถุ และธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชเท่านั้น แต่ยังช่วยให้โครงสร้างของดินที่เสื่อมโทรมกลับมาดีขึ้นอีกด้วย ดินที่ได้รับการใส่ปุ๋ยคอกบ่อย ๆจะเป็นดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชทำให้ดินมีระบายน้ำได้ดีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ช่วยเพิ่มความคงทนให้แก่เม็ดดินเป็นการลดการชะล้างพังทลายของดินและช่วยรักษาหน้าดินไว้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ หรือปุ๋ยคอกปุ๋ยจากมูลสัตว์ หรือปุ๋ยคอกนอกจากนี้ยังเป็นแหล่งธาตุอาหารของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ซึ่งมีผลทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ของจุลินทรีย์ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและยังช่วยเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ในดิน อีกด้วย


คะน้า
 ผักคะน้า ภาษาอังกฤษ Kai-Lan (Gai-Lan), Chinese Broccoli, Chinese Kale
 ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica alboglabra (ชาวจีนจะเรียกว่า ไก่หลันไช่)
เป็นผักที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชียซึ่งเพาะปลูกมากในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย

ผักคะน้าเป็นผักที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี (แต่ช่วงเวลาเพาะปลูกที่ดีที่สุดจะในช่วงเดือนตุลาคม – เมษายน) มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวสั้น สำหรับบ้านเราสายพันธุ์ที่นิยมปลูกจะมีอยู่ด้วยกัน 3 สานพันธุ์ได้แก่ พันธุ์ใบกลม พันธุ์ใบแหลม พันธุ์ยอดหรือก้าน เป็นต้น เมื่อหาซื้อมาแล้วควรเก็บใส่ไว้ในกล่องหรือถุงพลาสติก มัดหรือปิดให้แน่นแล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผักของตู้เย็น ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยรักษาวิตามินในผักให้คงอยู่ได้มากที่สุดผักคะน้าคะน้า เป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานกันทั่วไป เป็นผักที่หาซื้อง่ายราคาไม่แพง แต่มีสิ่งที่ควรจะระวังเป็นพิเศษนอกจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงแล้ว อาจจะต้องระวังในเรื่องของธาตุแคดเมียมที่อาจจะปนเปื้อนมากับน้ำและพื้นดินด้วย เพราะหากร่างกายได้รับเข้าไปมันจะเข้าไปสะสมในตับและไต ซึ่งจะเป็นพิษต่อตับและไตของคุณเอง และก่อนนำมารับประทานคุณควรล้างให้ทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง ด้วยการล้างน้ำสะอาดหลายๆครั้ง หรือจะล้างด้วยการใช้น้ำก๊อกไหลผ่านอย่างน้อย 2 นาที หรือจะสายละลายอื่นๆ ก็จะดีมาก เช่น น้ำยาล้างผัก น้ำส้มสายชู เกลือละลายน้ำ เป็นต้น (เพราะผักคะน้าขึ้นนั้นได้ชื่อว่าเป็นผักที่พบสารพิษตกค้างหรือยาฆ่าแมลงมากที่สุด)

ประโยชน์ของคะน้า
1.ผักคะน้ามีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกายได้
2.ผักคะน้า ประโยชน์ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในกับร่างกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
3.ช่วยบำรุงผิวพรรณและป้องกันการติดเชื้อต่างๆผักคะน้ามีวิตามินซีซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้นมากขึ้น (วิตามินซี)

สรรพคุณผักคะน้า 
1.ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (วิตามินเอ)
2.คะน้ามีสาร ลูทีน (Lutein) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกได้ถึง 29% (ลูทีน)
3.ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม และยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย
4.ผักคะน้า ช่วยบำรุงโลหิต
5.ธาตุเหล็กและธาตุโฟเลตในผักคะน้า มีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
6.ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
7.ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ ทำหน้าที่ช่วยขับออกซิเจนที่เลือดนำมาไว้ใช้
8.ผักคะน้ามีแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน (แคลเซียม)
9.คะน้า สรรพคุณช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (แคลเซียม)
10.สรรพคุณคะน้า มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
11.ผักคะน้าแมกนีเซียมสูง ซึ่งช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรนลงได้ (ธาตุแมกนีเซียม)

ลักษณะของคะน้า
ผักคะน้าเป็นผักอายุ 2 ปี แต่ปลูกเป็นผักฤดูเดียว อายุตั้งแต่หว่านจนถึงเก็บเกี่ยว ประมาณ 45-55 วัน ผักคะน้าสามารถปลูก ได้ตลอดปี แต่เวลาที่ปลูกได้ผลดีที่สุดอยู่ ในช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน คะน้าสามารถขึ้นได้ในดิน แทบทุกชนิดที่มี ความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรดด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.8 และมีความชื้นในดินสูงสม่ำเสมอ






บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง



วัสดุ/อุปกรณ์

1.ต้นกล้าผักคะน้า
2. จอบ
3. บัวรดน้ำ
4.. ปุ๋ยมูลสุกร
5. น้ำ
6. ต้นมะเขือ
7.ปุ๋ยคอก

ขั้นตอน/วิธีการทดลอง

1. เพื่อศึกษาผลของมูลสุกร เราจึงได้สืบค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับมูลของสุกรและนำมาวิเคราะห์ก่อนลงมือทดลอง
2. เรานำมูลสุกรไปใส่ในแปลงที่หนึ่ง และนำปุ๋ยคอกไปใส่ในแปลงที่สอง
3. นำต้นกล้าผักคะน้าไปปลูกในแต่ละแปลง
4. รดน้ำต้นกล้าผักคะน้า ในปริมาณที่เท่ากัน
5.  สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของต้นมะเขือทั้งสองต้นเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 6 อาทิตย์ จากนั้นถ่ายรูปและ
จดบันทึกการเปลี่ยนแปลง
5. สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของต้นมะเขือทั้งสองต้นในอาทิตย์ที่ 8 จากนั้นถ่ายรูปและจดบันทึกการ
เปลี่ยนแปลง
6. นำข้อมูลที่ได้มารวบรวมและวิเคราะห์สรุปผลการทดลอง
7. จัดทำรูปเล่มโครงงาน



บทที่ 4
ผลการทดลอง

 บันทึกผลครั้งที่ 1
ลำดับที่           สารที่ใช้ในการทดลอง                 ความสูงที่เพิ่มขึ้นของต้นผักคะน้าภายใน 6 สัปดาห์

1                      ปุ๋ยคอก                                                          2.08 cm.
2                      มูลสุกร                                                           3.26 cm.


 บันทึกผลครั้งที่ 2

ลำดับที่            สารที่ใช้ในการทดลอง                  ความสูงที่เพิ่มขึ้นของต้นผักคะน้าภายใน 7 สัปดาห์

1                          ปุ๋ยคอก                                                         4.6 cm.
2                          มูลสุกร                                                          8.4 cm.






บทที่ 5
สรุปผลการทดลองและอภิปรายผลการทดลอง

จากผลการทดลองศึกษาการเจริญเติบโตของต้นผักคะน้าเมื่อใช้ปุ๋ยมูลสุกรและปุ๋ยคอกสรุปผลได้ว่า

อาทิตย์ที่ 6
- ปุ๋ยคอกจะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ 2.08 cm.และมีใบที่แห้งและเป็นรู
- ปุ๋ยจากมูลสุกรทำให้พืชเจริญเติบโตได้ 3.26 cm.และมีใบที่สวยงาม

อาทิตย์ที่ 7
- ปุ๋ยคอกให้พืชเจริญเติบโตได้ 4.6 cm.และไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควร
- ปุ๋ยจากมูลสุกรให้พืชเจริญเติบโตได้8.4 cm.และมีการเจริญเติบโตค่อนข้างดี

ดังนั้นแสดงว่า การใช้ปุ๋ยจากมูลสุกรทำให้ต้นคะน้าเจริญเติบโตและสวยงามได้ดีกว่า
การใช้ปุ๋ยคอก

ข้อเสนอแนะ
- การที่จะนำมูลสุกรมาเป็นปุ๋ยชั้นยอดนั้นควรนำไปคลุกกับดินให้ทั่วแห้งก่อน มิฉะนั้นพืช
อาจจะเน่าเสียและตายได้




เอกสารอ้างอิง

http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=18&chap=9&page=t18-9-infodetail02.html
www.facebook.com/farmbuathong/posts/
http://www.thaiarcheep.com/
http://the-than.com/samonpai/P/14.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น